ดัชนีราคาผู้บริโภค
(CONSUMER PRICE INDEX)
1. แนวความคิดในการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค
ดัชนีราคาผู้บริโภคกำเนิดขึ้นจากความต้องการศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัว และการวัดระดับการครองชีพของประชากร
เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
แนวความคิดพื้นฐานของดัชนีราคาผู้บริโภค พัฒนามาจากแนวความคิดของดัชนี ค่าครองชีพ (COST OF LIVING
INDEX) ซึ่งต้องการวัดค่าใช้จ่ายในการบริโภคของผู้บริโภคในเดือนหนึ่ง
ๆ
โดยยังคงรักษามาตรฐานการครองชีพตามระดับที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งเป็นไปได้ยาก
ในทางปฏิบัติ
เนื่องจากมาตรฐานการครองชีพยังขึ้นกับปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ รายได้ จำนวนสมาชิกในครอบครัว ภาษี คุณภาพสินค้า
เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปและราคาสินค้าที่เปลี่ยนแปลง
ดังนั้น ได้มีการนำดัชนีราคาผู้บริโภคให้มีปริมาณและลักษณะของสินค้าคงที่ แต่เปลี่ยนแปลงเฉพาะราคาสินค้าเท่านั้น
แก้ปัญหานี้โดยการกำหนดให้กลุ่มสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ประชาชนใช้บริโภคคงที่ แทนการกำหนดให้มาตรฐานการครองชีพคงที่และวัดค่าใช้จ่ายในการบริโภคของเดือนหนึ่ง ๆ
เพื่อผู้บริโภคยังคงบริโภคสินค้าและบริการอย่างเดิม ถึงแม้ดัชนีราคาผู้บริโภคจะไม่สามารถแทนดัชนีค่าครองชีพได้อย่างสมบูรณ์
แต่อาจกล่าวได้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นตัวประมาณค่าดัชนีค่าครองชีพได้ดีในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการบริโภค
2. ประวัติการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคในประเทศไทย
การจัดทำดัชนีราคาในประเทศไทย ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2486 โดยกรมการสนเทศ
แต่เป็นการจัดทำเพื่อใช้ภายในหน่วยงานราชการ
เท่านั้น
ต่อมาได้มีการปรับปรุงและพัฒนาเป็นลำดับจนได้เผยแพร่ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2491
โดยใช้ปี 2491 นี้เป็นฐาน
ในการพัฒนาปรับปรุงการจัดทำดัชนีราคา จนมาเป็นดัชนีราคาผู้บริโภคในปัจจุบันนั้น
สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1
ระยะเริ่มต้น (ปี 2486 - 2504)
- ดัชนีค่าครองชีพ
ได้มีการจัดทำดัชนีราคา
ที่เรียกว่า ดัชนีค่าครองชีพ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายของคนงาน และข้าราชการที่มีรายได้น้อยในกรุงเทพฯ มีรายการสินค้าที่สำรวจเพียง 21 รายการเท่านั้น ดัชนีชุดนี้มีการคำนวณเผยแพร่ตั้งแต่ปี 2491
และพัฒนามาเป็นดัชนีราคาผู้บริโภคในปัจจุบัน
- ดัชนีราคาขายปลีก
ได้มีการคำนวณดัชนีราคาอย่างง่าย ๆ โดยไม่มีการถ่วงน้ำหนัก เป็นราคาเฉลี่ยสัมพัทธ์
ของสินค้า 58 ชนิด ที่ซื้อขายในกรุงเทพฯ
โดยดัชนีชุดนี้มีการจัดทำตั้งแต่ปี 2491 ถึงปี 2505
ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา (ปี 2505 2519)
ในช่วงต้นของยุคนี้ได้มีการปฏิรูป การจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศไทย ครั้งใหญ่ ให้มีการจัดทำตามระบบสากลมากขึ้น
การปฏิรูปครั้งนั้นประสบความสำเร็จเนื่องจากปัจจัย 2 ประการ คือ
1.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ
ได้เริ่มสำรวจรายจ่ายของครอบครัวในเขตกรุงเทพ ฯ และ
ธนบุรีในปี 2505
ซึ่งกรมการสนเทศได้นำข้อมูลดังกล่าวมาคำนวณน้ำหนักในการทำดัชนีราคา ผู้บริโภค
และได้อาศัยข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่ายครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มาใช้ในการจัดทำและปรับปรุงดัชนีราคาผู้บริโภคมาจนถึงปัจจุบัน
2. ในปี 2505 รัฐบาลไทยได้รับความช่วยเหลือจากประเทศสหรัฐอเมริกา ให้นาย
แอบเนอร์ เฮอร์วิซ (Mr.Abner Hurwitz)
ผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติมาช่วยปรับปรุงงานสถิติให้แก่สำนักงานสถิติแห่งชาติ และในโอกาสนี้ก็ได้
มาช่วยให้คำแนะนำ
และปรับปรุงการจัดทำดัชนีราคาของกรมการสนเทศด้วย
โดยการนำผลการสำรวจค่าใช้จ่ายในปี
2505 มาใช้
และเพิ่มรายการสินค้าเป็น 232
รายการ
และเปลี่ยนชื่อจากดัชนีราคาค่าครองชีพ มาเป็นดัชนีราคาผู้บริโภคด้วย นอกจากนี้ได้ยกเลิก
การจัดทำดัชนีราคาขายปลีก
และต่อมาในปี 2507
ได้ขยายขอบเขตการจัดทำดัชนีราคาให้ครอบคลุมไปสู่ภูมิภาคทั้ง 4 ภาค โดยเพิ่มจังหวัด
ที่มีการสืบราคาอีก 20 จังหวัด
ระยะที่ 3 ระยะสืบสานและก้าวหน้า (ปี 2519 ปัจจุบัน)
ระยะนี้เป็นระยะที่มีการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคเข้าสู่ระบบสากลแล้ว มีการปรับปรุงน้ำหนัก และรายการสินค้าเป็นระยะ ๆ
เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป
มีการปรับปรุงการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาตามวิทยาการที่
ก้าวหน้าขึ้น
มีการปรับปรุงน้ำหนักและรายการสินค้า ดังนี้
1.
ได้มีการปรับปรุงน้ำหนักและรายการสินค้า
โดยใช้ข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่าย
ครัวเรือน ปี 2519
และเปลี่ยนปีฐานเป็นปี 2519
ลดรายการสินค้าที่ใช้คำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคจาก 232 รายการ เหลือ 214 รายการ
และเพิ่มจังหวัดที่จัดเก็บราคาในภูมิภาคเป็น 24 จังหวัด
2.
ในปี
2528 ได้มีการปรับปรุงน้ำหนักที่ใช้ในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคใหม่
โดยใช้ข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่ายครัวเรือนปี
2524
และเรียกดัชนีราคาผู้บริโภคเดิมว่า ดัชนีราคา ผู้บริโภคทั่วไป เพื่อให้แตกต่างจากดัชนีราคาผู้บริโภคที่จัดทำใหม่อีก 2
ชุด คือ ดัชนีราคาผู้บริโภค
รายได้น้อย และดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท เพิ่มจำนวนรายการสินค้าเป็น 216
รายการ ปีฐานยังคงใช้
ปี 2519
3.
ปี
2533 ได้มีการปรับปรุงน้ำหนักอีกครั้งหนึ่งโดยใช้ข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่าย
ครัวเรือน ปี 2529
ด้วย
มีการเพิ่มรายการสินค้าเป็น 238 รายการ
และขยายจังหวัดที่จัดเก็บราคาในส่วนภูมิภาคเป็น 37 จังหวัด
4.
ปี 2538 ได้มีการปรับปรุงน้ำหนักตามข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่ายครัวเรือนปี 2533
และเปลี่ยนปีฐานเป็นปี 2533 และมีการเปลี่ยนแปลงรายการสินค้า (เพิ่มและลดสินค้าบางรายการ) เป็น 248 รายการ
5.
ในปี 2540
ได้มีการปรับปรุงน้ำหนักตามข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่ายครัวเรือน
ปี
2537
และเปลี่ยนปีฐานเป็นปี
2537
และปรับเปลี่ยนรายการสินค้าเป็น
260
รายการ โดยเฉลี่ยของทั้งกรุงเทพและภูมิภาค 4 ภาค
6.
ในปี 2545
ได้มีการปรับปรุงน้ำหนักและรายการสินค้า
โดยใช้ข้อมูลการสำรวจค่าใช้
จ่ายครัวเรือน ปี 2541 เป็นปีฐาน
และมีการเปลี่ยนแปลงรายการสินค้า จาก 260 รายการ เป็น 326 รายการ ( มีรายการเพิ่มขึ้น 65 รายการ
และลดลง 15 รายการ โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 50 รายการ
เมื่อเทียบกับปี 2537 )
7. ในปี 2548 ปรับปรุงน้ำหนักค่าใช้จ่ายและรายการสินค้าใหม่
ตามการสำรวจค่าใช้จ่าย
ของครัวเรือนปี 2545
ซึ่งเริ่มเผยแพร่ตั้งแต่เดือนมกราคม
2548 เป็นต้นไป
มีการเปลี่ยนแปลง
รายการสินค้าจาก 326 รายการ เป็น
373 รายการ
(มีรายการเพิ่มขึ้น 47 รายการ โดยหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 19
รายการ หมวดอื่น ๆ
ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม
เพิ่มขึ้น 28 รายการ)
สรุป
นับตั้งแต่ได้มีการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค
เมื่อปี 2505
ได้มีการปรับน้ำหนัก 7 ครั้ง ปรับปีฐาน 6 ครั้ง ดังนี้
|
ปี |
ข้อมูลการสำรวจฯ ปี |
ปีฐาน |
รายการสินค้า |
เริ่ม |
2505 2518 |
2505 |
2505 |
232 |
ปรับครั้งที่ 1 |
2519 2523 |
2519 |
2519 |
214 |
ปรับครั้งที่ 2 |
2524 2528 |
2524 |
2519 |
216 |
ปรับครั้งที่ 3 |
2529 2533 |
2529 |
2529 |
238 |
ปรับครั้งที่ 4 |
2533 2537 |
2533 |
2533 |
248 |
ปรับครั้งที่ 5 |
2537 2544 |
2537 |
2537 |
260 |
ปรับครั้งที่ 6 |
2545 2547 |
2541 |
2541 |
326 |
ปรับครั้งที่ 7 |
2548 - ปัจจุบัน |
2545 |
2545 |
373 |
หมายเหตุ ปีฐาน คือ ปีที่กำหนดให้ดัชนีราคาผู้บริโภคเท่ากับ 100
3. ขั้นตอนการจัดทำ
3.1 ความหมายของดัชนีราคา
การวัดการเปลี่ยนแปลงในราคานั้น
จะเปรียบเทียบราคาสินค้าในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ กับราคาสินค้าอย่างเดียวกันในช่วงเวลาตั้งต้น ซึ่งมีคำเฉพาะเรียกว่าปีฐาน (Base Year)
ในทางปฏิบัติ ปีฐานหมายถึงปีที่กำหนดให้ตัวเลขดัชนีมีค่าเท่ากับ 100
น้ำหนัก (Weight) เป็นคำที่ควรทราบในเรื่องดัชนีราคา
หมายถึงการให้ความสำคัญของสินค้าแต่ละรายการในตะกร้าสินค้าแตกต่างกัน
เพราะในการทำดัชนีราคาจะใช้ค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าทุกรายการในตะกร้าสินค้า
สินค้าที่ผู้บริโภคใช้จ่ายในการบริโภคมากจะ
มีความสำคัญมาก
นั่นคือ
มีน้ำหนักมาก
การจัดทำน้ำหนักของสินค้าในตะกร้าสินค้าก็จะต้องอาศัยข้อมูลจากการสำรวจค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคเช่นกัน
3.2
กำหนดวัตถุประสงค์และลักษณะครัวเรือนดัชนีราคา
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ประกอบด้วย
- ครัวเรือนที่ตั้ง อยู่
ในเขตเทศบาลเมือง 4 ภาค กรุงเทพ และปริมณฑล
-
มีสมาชิกในครัวเรือน ตั้งแต่ 1 - 5
คน
- มีรายได้ ตั้งแต่ 3,000 60,000 บาท ต่อเดือนต่อครัวเรือน
2. ดัชนีราคาผู้บริโภครายได้น้อย ประกอบด้วย
- ครัวเรือนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง 4
ภาค กรุงเทพและปริมณฑล
- มีสมาชิกในครัวเรือนตั้งแต่ 1 - 5 คน
- มีรายได้ตั้งแต่ 3,000 15,000 บาท ต่อเดือนต่อครัวเรือน
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท ประกอบด้วย
-
ครัวเรือนที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาล ภูมิภาค 4
ภาค
- มีสมาชิกในครัวเรือนตั้งแต่ 2 - 6 คน
-
มีรายได้ตั้งแต่ 2,000 25,000 บาท ต่อเดือนต่อครัวเรือน
3.3 การสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนี
ในการสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในประเทศไทยจะจัดทำโดยสำนักงานสถิติ
แห่งชาติ และกระทรวงพาณิชย์จะนำผลการสำรวจมาใช้ในการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค
3.4
การจัดทำน้ำหนัก (Weight) และความสำคัญเปรียบเทียบ (Relative importance)
ของรายการสินค้า
ดัชนีราคาผู้บริโภคคำนวณจากค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงราคาของรายการ สินค้าต่าง
ๆ ในพื้นที่
แต่เนื่องจากรายการสินค้าแต่ละรายการมีความสำคัญไม่เท่ากัน ขึ้นกับ
ค่าใช้จ่ายที่ผู้บริโภคใช้จ่ายและจำนวนผู้บริโภคที่ใช้จ่ายในรายการนั้น ๆ รายการสินค้าที่มีการ
ใช้จ่ายในการบริโภคมากจะมีความสำคัญมาก ในทางตรงกันข้ามราคาสินค้าที่มีการใช้จ่ายในการบริโภคน้อยก็มี
ความสำคัญน้อย
ค่าใช้จ่ายในการบริโภคของแต่ละรายการสินค้าที่ได้จากการสำรวจ
จะนำมาคำนวณเปรียบเทียบสัดส่วนกัน เพื่อหาน้ำหนักของแต่ละ
รายการสินค้า
รายการสินค้าที่มีค่าใช้จ่ายมากจะมีน้ำหนักมาก รายการสินค้าที่มีค่าใช้จ่ายน้อยจะมีน้ำหนักน้อย น้ำหนักของแต่ละรายการสินค้าในปีฐานจะคงที่ตลอดการคำนวณดัชนีราคาจนกว่าจะมีการจัดทำน้ำหนักใหม่จึงจะ
เปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง
ส่วนความสำคัญเปรียบเทียบนั้น
เป็นการเปรียบเทียบสัดส่วนค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคในรายการสินค้าต่าง
ๆ ในเดือนหนึ่ง ๆ ที่เกิดขึ้น
ค่าใช้จ่ายนี้คำนวณจากปริมาณการบริโภคสินค้า (หรือน้ำหนักของรายการสินค้าซึ่งกำหนดให้คงที่) คูณกับราคาสินค้านั้น
ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปใน
แต่ละเดือน
ฉะนั้นความสำคัญเปรียบเทียบของแต่ละรายการสินค้าจะเปลี่ยนแปลงทุกเดือนด้วย
ส่วนจะเปลี่ยนแปลงมากน้อยขึ้นกับอัตรา
การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านั้น ๆ ในแต่ละเดือน สินค้า
ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาสูงกว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยของราคาสินค้า
ทั้งหมดในตะกร้าสินค้า
สินค้านั้นก็จะมีความสำคัญเปรียบเทียบเพิ่มขึ้น ในทางตรงข้ามสินค้าที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาต่ำกว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงโดยเฉลี่ยของราคาสินค้าทั้งหมดในตะกร้าสินค้า
สินค้านั้นจะมีความสำคัญเปรียบเทียบลดลง
การคำนวณความสำคัญเปรียบเทียบของรายการสินค้าในแต่ละเดือน จะชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงราคาของรายการ
สินค้านั้น ๆ
ต่อดัชนีราคาผู้บริโภคทั้งหมดในเดือนหนึ่ง ๆ
ขั้นตอนในการจัดทำน้ำหนัก มีดังนี้
1.
ให้น้ำหนักขั้นต้นแก่รายการสินค้าที่ถูกคัดเลือกตามค่าใช้จ่ายที่ได้จากการสำรวจ
ผู้บริโภค
2.
ให้น้ำหนักหรือค่าใช้จ่าย
ของแต่ละรายการสินค้าที่ไม่ถูกคัดเลือกเข้าไปรวมกับ
น้ำหนักของรายการที่ถูกคัดเลือกตามวิธีการ ดังนี้
- การรวมน้ำหนักโดยตรง คือ การเอาน้ำหนักของรายการที่ไม่ถูกคัดเลือกไปรวมกับรายการที่ถูกคัดเลือกโดยตรง
โดยมีข้อแม้ว่ารายการที่นำไปรวมด้วยนั้นจะต้องมีลักษณะ
ใกล้เคียงกัน เช่น น้ำมันพืชกับน้ำมันหมู
และที่สำคัญ คือ ควรมีแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงราคาไปในทางเดียวกัน
ในทางปฏิบัติบางทีจะมีการพิจารณาด้วยว่า เมื่อรวมน้ำหนักของรายการสินค้า
ที่ไม่ถูกคัดเลือกเข้าไป จะต้องไม่ทำให้รายการสินค้าที่ถูกเพิ่มน้ำหนักมีน้ำหนักมากเกินไป
เพราะอาจจะทำให้รายการสินค้านั้นมีความสำคัญมาก
เกินความเป็นจริง ส่งผลให้ความเคลื่อนไหวของราคาสินค้านั้น
ๆ กระทบต่อความเปลี่ยนแปลงของดัชนีมากเกินไป
- การรวมน้ำหนักโดยอ้อม
คือการเฉลี่ยน้ำหนักของรายการสินค้าที่ไม่ถูกคัดเลือก
ไปให้รายการสินค้าทุกรายการที่ถูกคัดเลือกในหมวดเดียวกันตามสัดส่วนน้ำหนักเดิมของสินค้านั้น
ๆ บางรายการสินค้าไม่เข้าหลักเกณฑ์การรรวมน้ำหนักโดยตรงก็จะใช้การเฉลี่ยน้ำหนักโดยวิธีนี้
3. คำนวณน้ำหนักขั้นสุดท้าย
โดยแต่ละหมวดจะเหลือเฉพาะรายการสินค้าที่ถูก คัดเลือกและน้ำหนักสุดท้ายคือ
น้ำหนักหรือค่าใช้จ่ายในรายการนั้นที่ได้จากการสำรวจ รวมกับน้ำหนักที่ได้เพิ่มมาจากข้อ
2 (ในกรณีที่มีการรวมน้ำหนักเกิดขึ้น) ผลรวมของน้ำหนักจากทุกรายการสินค้าในทุกหมวดจะต้องเท่ากับค่าใช้จ่ายรวมของผู้บริโภคที่ได้จากการสำรวจ
น้ำหนักที่คำนวณของแต่ละรายการสินค้าจะคงที่ และใช้ตลอดการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคนั้น จนกว่าจะมีการปรับปรุงรายการสินค้าและน้ำหนักจากการสำรวจค่าใช้จ่ายในการบริโภคครั้งใหม่
3.5
การจัดหมวดหมู่สินค้า
โดยทั่วไปสินค้าที่นำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศต่าง
ๆ รวมทั้งประเทศไทย จะแยกออกเป็นหมวดใหญ่ ๆ ได้ 7 หมวด คือ
1.
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม
2.
หมวดเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า
3.
หมวดเคหสถาน
4.
หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล
5.
หมวดพาหนะ การขนส่ง
และการสื่อสาร
6.
หมวดการบันเทิง การอ่าน และการศึกษา
7.
หมวดยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์
ในแต่ละหมวดใหญ่เหล่านี้
ยังได้จำแนกออกเป็นหมวดย่อย
ๆ ได้ดังนี้
1.
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม จำแนกเป็น
- ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง
-
เนื้อสัตว์ เป็ดไก่
และสัตว์น้ำ
-
ไข่และผลิตภัณฑ์นม
- ผักและผลไม้
- เครื่องประกอบอาหาร
- เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
-
อาหารสำเร็จรูป
2. หมวดเครื่องนุ่งห่ม
และรองเท้า
3. หมวดเคหสถาน
- ค่าที่พักอาศัย
- ไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปาและแสงสว่าง
- สิ่งทอสำหรับใช้ในบ้าน
-
สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด
4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล
- ค่าตรวจรักษาและค่ายา
-
ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล
5. หมวดพาหนะ
การขนส่งและการสื่อสาร
- ค่าโดยสารสาธารณะ
- ยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง
-
การสื่อสาร
6. หมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษา
- การบันเทิงและการอ่าน
- การศึกษา
7. หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์
3.6
การเลือกรายการสินค้า
จากข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนี ทำให้ทราบรายการสินค้าและบริการที่ครัวเรือนดัชนีใช้จ่าย พร้อมมีความสำคัญของแต่ละรายการสินค้าและบริการ (โดยดูจากค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนีในแต่ละรายการสินค้า) จำนวนหนึ่งเพื่อใช้ในการคำนวณแทนสินค้าและบริการทั้งหมด หลักเกณฑ์ในการเลือกรายการสินค้า ในทางปฏิบัติที่ไม่ใช่สินค้าและบริการ ทุกรายการที่ครัวเรือนดัชนีใช้จ่ายมาจัดทำดัชนี แต่จะเลือกรายการสินค้า โดยมีวิธีการดังนี้
1. เลือกรายการสินค้าที่มีความสำคัญ
ซึ่งข้อมูลที่คัดเลือกรายการได้มาจากการ
สำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยใช้หลักเกณฑ์การเลือกรายการสินค้าที่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายของสินค้าแต่ละรายการต่อค่าใช้จ่ายรวมตั้งแต่
ร้อยละ 0.01 ของสินค้าทั้งหมด
2. ดูแนวโน้มของสัดส่วนค่าใช้จ่ายของสินค้านั้น
ๆ เทียบกับการสำรวจที่ผ่านมา
ถ้ามีแนวโน้มมากขึ้นและคาดว่าจะมีการใช้จ่ายในสินค้ารายนี้มากขึ้น จะคัดเลือกไว้เป็นตัวแทน
3.
สินค้าบางอย่างในขณะสำรวจอาจจะมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายน้อยแต่มีการคาดการณ์ว่า
4.
สินค้าที่คัดเลือกสามารถกำหนดลักษณะจำเพาะได้ชัดเจน
5.
เป็นสินค้าที่มีการซื้อขายกันอยู่ในท้องตลาดทั่วไปสามารถจัดเก็บราคาได้
6. ในปี 2545 รายการสินค้าในหมวดต่าง ๆ
ได้ปรับปรุงตามโครงสร้างของ COICOP
ในการเลือกทำดัชนีราคาผู้บริโภค นอกจากความถูกต้องน่าเชื่อถือแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึง คือ
ความรวดเร็วทันต่อเวลา
การจัดเก็บราคาสินค้าทุก ๆ ชนิด ในแต่ละรายการและทุกท้องที่ ทุกร้าน
จะทำให้ล่าช้ามาก และเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น
จึงจำเป็นต้องมีการคัดเลือกตัวอย่างในการจัดเก็บราคาสินค้า
3.7 การกำหนดลักษณะจำเพาะของสินค้า
จากผลการสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนี และการคัดเลือกรายการสินค้า จะทำให้ทราบรายการสินค้าทุกรายการที่จะจัดเก็บราคา แต่ก่อนที่จะให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการจัดเก็บราคานั้นจะต้องมีการกำหนดรายละเอียดลักษณะจำเพาะของสินค้าที่จะจัดเก็บราคาให้แน่ชัดเสียก่อนเนื่องจาก
(1)
สินค้าแต่ละรายการมีมากมายหลายประเภท เช่น น้ำพืช
อาจจะมีน้ำมันพืช
ประเภทต่าง
ๆ เช่น น้ำมันรำ น้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันผสม เป็นต้น
(2)
สินค้าแต่ละประเภทมีหลายตรา
เช่น น้ำมันปาล์ม มีหลายตรา เช่น ทิพ
มรกต คิงส์ โพลา เป็นต้น
(3)
สินค้าแต่ละประเภท มีหลายขนาด (ปริมาณ ,
น้ำหนัก) แตกต่างกันไป
(4)
สินค้าบางประเภทมีลักษณะจำเพาะเฉพาะแยกย่อยลงไปอีกมากมาย ขึ้นกับ
วัตถุดิบที่ใช้ สี กลิ่น คุณภาพ
รุ่น
หรือเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป
ตามวิธีการคำนวณดัชนีราคาแบบลาสแปร์ มีหลักเกณฑ์ว่า สินค้าที่จะเก็บราคาต้องเป็นสินค้าชนิด ขนาด ลักษณะและตราเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบราคา
ฉะนั้นจึงต้องมีการกำหนดลักษณะจำเพาะของสินค้าแต่ละรายการให้แน่ชัดเสียก่อน และจะจัดเก็บราคา
สินค้านั้นตลอดไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น
รายการสินค้านั้นไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป หรือสินค้านั้นขาดหายไปจากท้องตลาดหรือเลิกผลิต
ก็จะมีการกำหนดลักษณะจำเพาะของรายการสินค้านั้น ๆ ใหม่
เป็นการกำหนดลักษณะจำเพาะของสินค้า
โดยเลือกสินค้าชนิด ขนาด
ลักษณะและตราที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในท้องตลาด
วิธีนี้เป็น
วิธีที่สะดวก
ไม่ซับซ้อน สินค้าที่ถูกคัดเลือกโดยวิธีนี้จะเหมือนกันทุกท้องที่
วิธีที่ 2 การกำหนดโดยการสุ่มทางสถิติวิธีนี้ใช้หลักสถิติในการเลือกสินค้า โดยมีหลักว่าสินค้าแต่ละชนิดในรายการสินค้านั้นๆมีโอกาสที่จะถูกเลือกเป็นตัวแทน แต่ด้วยความน่าจะเป็นที่ไม่เท่ากัน ขึ้นกับปริมาณยอดขายของสินค้าแต่ละชนิดในท้องตลาด วิธีการนี้มีความซับซ้อนกว่าแต่ไม่มีความเอนเอียง (Unbiasness) ในการเลือก ขณะนี้
ในสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้าใช้วิธีการนี้
การเลือกโดยวิธีนี้ลักษณะจำเพาะของสินค้าในรายการเดียวกันอาจจะไม่เหมือนกันในแต่ละท้องที่
ขึ้นกับผลการสุ่ม
แต่มีข้อดี คือ
(1) ขจัดปัญหาสินค้าขาดหาย เพราะแน่ใจได้ว่า สินค้าที่ถูกเลือกมีจำหน่าย
ในท้องที่นั้นอย่างแน่นอน
3.8 การกำหนดพื้นที่จัดเก็บราคาสินค้า
หลังจากกำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดทำดัชนี และกำหนดลักษณะครัวเรือนดัชนีแล้วขั้นตอนต่อไปคือการคัดเลือกตัวอย่างจังหวัด
จากพื้นที่ทั้งหมด
เพื่อเป็นตัวแทนในการจัดเก็บราคา
ในทางปฏิบัติสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ามีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกจังหวัดเพื่อเป็นตัวแทน ดังนี้
(1)
เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจการค้าของประเทศ
หรือของภาคนั้น เช่น
เป็นจังหวัดท่องเที่ยว จังหวัดที่มีการค้าชายแดน
จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตการเกษตรบางอย่างที่สำคัญ จังหวัดที่เป็นแหล่ง
การค้าและธุรกิจ
(2)
เลือกจังหวัดขนาดเล็กที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ข้อ 1
มาบางจังหวัดเพื่อเป็นจังหวัด
ตัวอย่างด้วย แต่ต้องเป็นจังหวัดที่มีแหล่งค้าขายซึ่งประชาชนมาจับจ่ายใช้สอย นอกเหนือจากการบริโภคสินค้าที่ผลิตเอง
ในครัวเรือนหรือท้องถิ่น
(3) คำนึงถึงการกระจายจังหวัดตัวอย่างทั่วภูมิภาค และประเทศ
(4) คำนึงถึงงบประมาณและกำลังคนที่มี
3.9
การกำหนดแหล่งจัดเก็บราคา
บางประเทศที่มีการพัฒนาการจัดทำดัชนีราคาอย่างมาก
จะมีการสำรวจร้านค้าและแหล่งขายสินค้าที่ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย
นิยมไปจับจ่ายใช้สอย
เพื่อเป็นข้อมูลการกำหนดแหล่ง
จัดเก็บราคา
พร้อมกันนี้อาจจะมีการหมุนเวียนแหล่งจัดเก็บราคาเป็นระยะ ๆ
เพื่อให้การจัดเก็บราคาเป็นไปอย่างทั่วถึงและทันสมัยด้วย
(1) เป็นร้านค้าประจำ
เพื่อสะดวกแก่การที่เจ้าหน้าที่จัดเก็บราคาจะสามารถจัดเก็บราคาได้ตลอดไป
หรือถ้าเป็นแผงลอยต้องเป็นแผงที่ขายเป็นประจำ
(2) เป็นร้านค้าที่สินค้าจำหน่ายจำนวนมากและหลายชนิดที่ครอบครัวดัชนี
ใช้บริโภค
(3) เป็นร้านค้าที่อยู่ในย่านชุมชน เดินทางไป มาซื้อสินค้าได้สะดวก
(4) เป็นร้านค้าที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมมาซื้อสินค้า
(5) เป็นร้านค้าที่ให้ความร่วมมืออย่างดีแก่เจ้าหน้าที่ในการสอบถามข้อมูลและ
(6)
ในแต่ละพื้นที่ จะกำหนดให้เลือกร้านค้าเพื่อจัดเก็บราคาอย่างน้อย 3 ร้านค้า
รายชื่อตลาดที่จัดเก็บราคาอยู่ในภาคผนวก
3.10 การจัดเก็บราคา
ในการจัดเก็บราคาสินค้า เจ้าหน้าที่จะมีแบบฟอร์มที่กำหนดรายการสินค้าและลักษณะจำเพาะ
เพื่อให้เจ้าหน้าที่จดบันทึก
ข้อมูลราคา
เจ้าหน้าที่ทุกคนจะได้รับการฝึกอบรมและมีการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ดูแลในเรื่องการจัดทำดัชนีราคาเป็นระยะ
ๆ
เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลราคาที่นำมาทำดัชนีนั้นถูกต้อง และรวดเร็วทันเวลา
1. เป็นราคาที่ซื้อขายกันโดยปกติ ไม่ใช่ราคาที่ลดให้เป็นกรณีพิเศษ หรือการต่อรอง
2. เป็นราคาที่ซื้อขายในปริมาณที่พอสมควรกับการใช้บริโภคในครัวเรือน
ไม่ใช่ราคาที่ซื้อขายกันในปริมาณมาก ๆ
3. เป็นราคาที่ซื้อขายกันจริง
ๆ
ซึ่งผู้บริโภคสามารถซื้อได้และผู้ขายก็สามารถจะขายได้
ถึงแม้ผู้ขายยังไม่ได้ขายแต่พร้อมที่จะขาย
ได้ตามราคานั้น ๆ ถ้ามีการซื้อขายกันจริง ๆ
4. เป็นราคาที่ซื้อขายกันด้วยเงินสด ไม่ใช่เงินเชื่อหรือเงินผ่อน
5. เป็นราคาขายสำหรับสินค้านั้นโดยเฉพาะ ไม่รวมส่วนประกอบอย่างอื่นที่แถมให้
เป็นพิเศษ รวมถึงค่าบริการ ค่าขนส่ง หรือบรรจุหีบห่อ
6. เป็นราคาที่ซื้อขายกันในเวลาปัจจุบัน
ไม่ใช่ราคาย้อนหลังหรือราคาซื้อขายล่วงหน้า
7. เป็นราคาที่ซื้อขายกันในเวลาปัจจุบัน
ไม่ใช่ราคาย้อนหลังหรือราคาซื้อขายล่วงหน้า
8. ไม่ใช่ราคาที่ลดให้เป็นพิเศษสำหรับสมาชิก
9. การเก็บราคาควรจัดเก็บตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น สินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลง
ราคามาก
จะให้มีการจัดเก็บราคาเป็นรายสัปดาห์ ทุก ๆ สัปดาห์ ส่วนสินค้าทั่ว ๆ
ไปก็จะจัดเก็บราคาเป็นรายเดือน
10. ช่วงเวลาที่จัดเก็บควรเป็นช่วงเดียวกัน มิฉะนั้นอาจจะมีผลต่อราคาได้ เช่น ราคา
ผักในช่วงเช้า จะแตกต่างจากราคาผักในช่วงเย็น เป็นต้น
11.
ควรพิจารณาคุณภาพของสินค้าว่าตรงตามลักษณะจำเพาะที่ตั้งไว้หรือไม่ เพราะอาจจะมีผลอย่างมากต่อราคา เช่น
สินค้าที่มีตำหนิจะมีราคาลดกว่าปกติ
3.11 ค่าเช่าบ้าน
1. การกำหนดขอบเขตของพื้นที่บ้านเช่า
- กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เขตในกรุงเทพมีทั้งหมด 52 เขต ในการ
สำรวจจะเลือกตัวอย่างโดยวิธีพิจารณาเขตที่เหมาะสมให้มีการกระจายครอบคลุมทั้งที่กรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็น 3
กลุ่ม 16 เขต ดังนี้
สำหรับปริมณฑลทางประกอบด้วย 3
จังหวัด คือ นนทบุรี ปทุมธานี
และสมุทรปราการ
2. ส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 4
ภาค รวม 33 จังหวัด โดยใช้ตัวอย่างจังหวัดที่เป็นแหล่งจัดเก็บราคาสินค้าสำหรับการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคเพื่อให้แบบแผนการค่าใช้จ่าย สอดคล้องกัน คือ
นครราชสีมา หนองคาย สุรินทร์ ศรีสะเกษ
และมุกดาหาร
ง. ภาคใต้ 8 จังหวัด ได้แก่ สงขลา
สุราษฎร์ธานี
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส ยะลา ตรัง กระบี่
และภูเก็ต
3.12 การคำนวณดัชนีราคา
การคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค คือ การหาสัดส่วน ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า (ในตะกร้าสินค้าที่กำหนด) ตามราคาสินค้า
ของเดือนปัจจุบัน (เดือนที่คำนวณดัชนี)
เทียบกับค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า
(ในตะกร้าสินค้านั้น) ณ ปีฐาน
สูตรที่ใช้คำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคปัจจุบันใช้สูตรของ ลาสแปร์ (Laspeyres Formula) ซึ่งได้ดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสำหรับการคำนวณวัดความเคลื่อนไหวของราคาสินค้า
เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาที่กำหนดไว้ และสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องการเชื่อมต่อของราคา
เนื่องจากการสับเปลี่ยนสินค้า
เปลี่ยนลักษณะคุณภาพจำเพาะใหม่เพิ่มรายการคำนวณ
หรือตัดรายการคำนวณ
สูตรนี้ได้แก่
S
Pt x Pt 1Q0
x
1 t-1 I t =
Pt
1
S Pt 1Q0
I
t = ดัชนีราคา ณ
เวลา t (ปัจจุบัน)
I
t-1 = ดัชนีราคา
ณ เดือนที่ผ่านมา ( t-1)
Pt = ราคาสินค้า
ณ เวลา t (ปัจจุบัน)
Pt-1 = ราคาสินค้า
ณ เดือนที่ผ่านมา (t-1)
Pt
1Q0 = ค่าใช้จ่ายหรือน้ำหนักแต่ละรายการ
ณ เวลาปัจจุบัน
Pt Q0 = ค่าใช้จ่ายหรือน้ำหนักแต่ละรายการ
ณ ปีฐาน
4. การรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค
สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้าจะเผยแพร่ และรายงานดัชนีราคาผู้บริโภคทุก ๆ เดือน
การรายงานการเคลื่อนไหวของดัชนีราคามักจะเปรียบเทียบในรูปของร้อยละมากกว่าที่จะเปรียบเทียบตัวเลขของดัชนีราคาโดยตรง
ตัวอย่าง : ดัชนีราคาผู้บริโภคของเดือนมกราคม 2548 เท่ากับ 105.4
ดัชนีราคาผู้บริโภคของเดือนธันวาคม
2547
เท่ากับ 105.3
การเปรียบเทียบตัวเลขโดยตรง เท่ากับ 105.4 105.3 = 0.1
หมายความว่า ดัชนีราคาของเดือนมกราคม
เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.1
การคำนวณการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาในรูปของร้อยละ
จะมีการเปรียบเทียบอยู่ 4 ลักษณะ คือ
x
100 100
(1) การคำนวณอัตราเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาเดือนปัจจุบันเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
เช่น อัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภค
ของเดือนมกราคม 2548 เทียบกับเดือนธันวาคม 2547 มีวิธีการคำนวณ ดังนี้
อัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนี = ดัชนีเดือน มค. 48
ดัชนีเดือน
ธค. 47
x
100 100
=
105.4
105.3
= 0.1
หมายความว่า ราคาสินค้าและบริการโดยเฉลี่ยในเดือนมกราคม 2548
เพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยใน
เดือนธันวาคม 2547 ร้อยละ 0.1
(2)
การคำนวณอัตราการเปลี่ยนแปลงจุดต่อจุดในรอบ
12 เดือน
เช่นอัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภค
ของเดือนมกราคม 2548 เทียบกับเดือนมกราคม 2547
ซึ่งมีค่าดัชนีราคาเท่ากับ 102.6 มีวิธีการคำนวณ ดังนี้
x
100
100
อัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนี = ดัชนีเดือน มค. 48
ดัชนีเดือน
มค. 47
x
100 100
= 105.4
102.6
= 2.7
(3) การคำนวณอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยทั้งปี เช่น
อัตราเงินเฟ้อปี 2547 เทียบกับปี 2546 มีวิธีการคำนวณ ดังนี้
คำนวณดัชนีราคาเฉลี่ยทั้งปี ของปี 2547
ดัชนีราคาเฉลี่ยปี 2547 =
ดัชนีราคาปี 2547 ของเดือนมค. + กพ. +
+ธค.
12
คำนวณดัชนีราคาเฉลี่ยทั้งปี
ของปี 2546
ดัชนีราคาเฉลี่ยปี
2546
= ดัชนีราคาปี 2546 ของเดือน มค.+กพ.+
+ธค.
12
x
100 100
คำนวณอัตราเปลี่ยนแปลง
อัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภค =
ดัชนีเฉลี่ยปี 2547
ดัชนีเฉลี่ยปี 2546
x
100 100
= 104.6
101.8
= 2.7
หมายความว่า ช่วงเดือนมกราคม ธันวาคม 2547 ราคาสินค้า โดยเฉลี่ยสูงขึ้นจากช่วงเดือน
มกราคม ธันวาคม 2546 ร้อยละ 2.7 หรือ หมายความว่า ในปี 2547 ถ้าต้องการ
ซื้อสินค้าและบริการที่เคยบริโภคในปี 2546 ต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นอีก
ร้อยละ 2.7
5. ประโยชน์ของดัชนีราคาผู้บริโภค
ประโยชน์ของดัชนีราคาผู้บริโภค
มีดังนี้ คือ
1. ใช้วัดอัตราเงินเฟ้อของประเทศ
2. ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาในการวางนโยบาย
แผน และประเมินผลกระทบ
ของนโยบาย
และแผนต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ
3. ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาประกอบการปรับค่าจ้าง เงินเดือนของราชการและเอกชน
4. ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาในการกำหนดเงินบำนาญ และเงินช่วยเหลือหรือ
สวัสดิการในรูปต่าง
ๆ
5. ใช้ในการประเมินรายรับที่ควรจะเป็นในการทำสัญญาระยะยาว เช่น สัญญาซื้อขาย
ในระยะยาว
6. ใช้เป็นแนวทางในการวิจัย พยากรณ์การตลาด และราคาสินค้าต่าง ๆ
7. ใช้ในการหาค่าของเงินหรือมูลค่าที่แท้จริง
8. ใช้ในการปรับราคาในการจัดทำ GDP
การคำนวณค่าของเงินที่แท้จริง
x ดัชนีในเวลาอ้างอิง
ค่าของเงินที่แท้จริงในเวลาใด ๆ = จำนวนเงินในเวลาใด ๆ
เทียบเท่ากับค่าของเงินในเวลาอ้างอิง ดัชนีในเวลาใด ๆ
x 100
ค่าของเงินที่แท้จริงของเงิน
100
บาท ในปี 2547 = 100
= 95.60 บาท
6. ข้อจำกัดของดัชนีราคาผู้บริโภค
6.1
ดัชนีราคาผู้บริโภคไม่สามารถตอบคำถามต่าง ๆ เกี่ยวกับราคาของผู้บริโภคในทุก ๆ
กลุ่มได้ เช่น
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปจะแสดงถึงการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าในกลุ่มที่ผู้บริโภครายได้ปานกลางใน
เขตเทศบาลใช้บริโภคเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงสินค้าฟุ่มเฟื่อย หรือสินค้าในกลุ่มที่ผู้บริโภคที่รายได้สูงใช้บริโภค
6.2
การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นตัวเลขที่แสดงการเปลี่ยนแปลงราคา
สินค้าโดยเฉลี่ย อาจจะมีสินค้าในตะกร้าสินค้าบางตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าหรือน้อยกว่าดัชนีราคาในแต่ละเดือนก็ได้
6.3 ดัชนีราคาผู้บริโภค ไม่สามารถใช้เปรียบเทียบค่าครองชีพ หรือราคาสินค้าระหว่าง
ท้องถิ่นได้ ยกตัวอย่าง
เช่น
ดัชนีราคาผู้บริโภคภาคเหนือเท่ากับ
131.5 ขณะที่ดัชนีราคาภาคกลางเท่ากับ
135.4 เราไม่สามารถ
สรุปจากข้อมูลนี้ได้ว่า
ราคาสินค้าของภาคเหนือถูกกว่า
ภาคกลาง
ทั้งนี้ดัชนีราคาผู้บริโภคแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงราคา
โดยเฉลี่ยของสินค้าต่าง ๆ
ในแต่ละพื้นที่
แต่เราไม่สามารถทราบได้จากตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคว่า ราคาสินค้าในแต่ละพื้นที่
เี่ป็นเท่าใด
ในทำนองเดียวกัน
ถึงแม้ว่าในท้องถิ่นที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคามากกว่าอีกท้องที่หนึ่งก็ไม่ได้หมายความว่า
ในท้องถิ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาสูงนั้นมีราคาสินค้าสูงกว่า
6.4 การจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค
ใช้การเลือกตัวอย่างมาเพื่อประมาณค่าการเปลี่ยนแปลง
ราคาสินค้าที่เกิดขึ้นจริง ๆ ฉะนั้น อาจจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นจากการเลือกตัวอย่าง หรือการจัดเก็บราคาได้ แต่ในทางปฏิบัติ
สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า
ได้มีการตรวจสอบ และตรวจตรา พร้อมทั้งปรับปรุงวิธีการต่าง ๆ
ตลอดเวลา
เพื่อให้ดัชนีราคาผู้บริโภคประมาณค่าการเปลี่ยนแปลงราคา
ที่เกิดขึ้นจริง ๆ ได้ใกล้เคียงที่สุดนั้น
7. ภาวะเงินเฟ้อ
ภาวะเงินเฟ้อเป็นภาวะทางเศรษฐกิจที่ค่าของเงินลดลงเนื่องจากราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จึงได้ใช้การเปลี่ยนแปลงราคาเฉลี่ยเป็นเครื่องชี้ความรุนแรงของภาวะเงินเฟ้อ
หากราคาเฉลี่ยสูงขึ้นเพียงครั้งเดียวและไม่ต่อเนื่อง
ก็จะไม่เรียกว่าประเทศมีภาวะเงินเฟ้อ แต่ถ้าราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอัตราการเปลี่ยนสูงก็จะถือว่าภาวะเงินเฟ้อมีความรุนแรง
สาเหตุของภาวะเงินเฟ้อ
ในทางทฤษฎี
เมื่อนักเศรษฐศาสตร์
กล่าวถึง ภาวะ เงินเฟ้อ
ก็มักจะหมายถึงช่วงเวลาที่ค่อนข้างยาว เช่น 1 ปี หรือ 6 เดือน จึงมักจะกล่าวว่าสาเหตุสำคัญก็คือ เศรษฐกิจรวม
มีปริมาณเงินมากกว่าปริมาณสินค้าและบริการในช่วงเวลาเดียวกันนั้น เมื่อเงินหมุนเวียนในระบบ
มีมากกว่าปริมาณสินค้าและบริการ ก็จะฉุดให้ระดับราคาโดยทั่วไปสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาดังกล่าว
เพราะปริมาณสินค้าและบริการไม่สามารถขยายตัวได้เร็วเท่ากับการขยายตัวของปริมาณเงินที่ถือโดยสาธารณชน
ดังนั้นในทางเศรษฐศาสตร์การเยียวยาแก้ไขภาวะเงินเฟ้อจึงเป็นเรื่องของ
การใช้มาตรการทางการเงินและการคลังที่เหมาะสม
แต่ในทางปฏิบัติหรือในชีวิตประจำวันทั่วไปได้มีการติดตามภาวะเงินเฟ้อในระยะสั้น เช่น เดือนต่อเดือน ดังนั้น
จึงมีการอธิบายสาเหตุของภาวะเงินเฟ้ออย่างง่าย ๆ ว่ามีสาเหตุ
3 ประการ
7.1 ความต้องการสินค้าและบริการสูง มากกว่าการขยายตัวของปริมาณสินค้าและการบริการที่มีอยู่
โดยปกติแล้ว
เมื่อรายได้สูงขึ้นความต้องการสินค้าก็จะสูงขึ้น และราคาโดยทั่วไปก็จะสูงขึ้น ซึ่งจะฉุดให้การผลิตขยายตัว
เพื่อสนองความต้องการนั้น
และในระบบเศรษฐกิจแบบเปิด
หากการผลิตในประเทศขยายตัวไม่ทัน
ก็จะมีการนำสินค้าชนิดเดียวกันเข้ามา
จากต่างประเทศเพื่อให้พอใช้ ก็จะเป็นการผ่อนปรนไม่ให้ภาวะเงินเฟ้อยาวนาน
ในทางตรงกันข้าม
หากการผลิตขยายตัวช้า
ภาษีศุลกากรสูง
ต้นทุนการนำเข้าสูงภาวะเงินเฟ้อก็จะยาวนาน
ทั้งนี้ รายได้รวมของประเทศอาจสูงขึ้นจนความต้องการสูงขึ้นได้เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
การลงทุนมากขึ้น
การส่งออกมากขึ้น
การขึ้นเงินเดือนเป็นต้น
7.2 ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ต้นทุนการผลิตอาจจะสูงขึ้น เนื่องจากราคาปัจจัยการผลิตสูงขึ้น
สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อย คือ
ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น
การปรับค่าแรง
ราคาวัตถุดิบจากต่างประเทศสูงขึ้น หรือภาษีศุลกากรสูงขึ้น
ก็จะทำให้ต้นทุนการนำเข้าและต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
7.3 ผลทางด้านจิตวิทยา
เมื่อมีข่าวว่าสินค้าจะขาดแคลน
หรือจะเกิดภาวะเงินเฟ้อ
ก็จะมีการกักตุน
หรือเร่งขึ้นราคาก่อนหน้า ที่จะเกิดความจำเป็น เพราะพ่อค้าและผู้ผลิตคาดว่าอำนาจซื้อจะลดลงเนื่องจากภาวะ เงินเฟ้อ จึงต้องเพิ่มอำนาจซื้อ นอกจากนี้การดำเนินนโยบายที่รุนแรง ก็ทำให้สาธารณชนเกิดความตระหนกและก่อปฏิกิริยา
ที่ทำให้ภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้นไปกว่าที่ควร
********************