คำชี้แจง

การปรับปรุงดัชนีราคาผู้บริโภค  ปีฐาน 2545

 

                                                                                                                                     

    1. สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคเผยแพร่
    2. เป็นประจำทุกเดือนเพื่อใช้วัดภาวะเงินเฟ้อและภาวะค่าครองชีพของประชาชน ซึ่งได้มีการปรับปรุง น้ำหนักค่าใช้จ่ายและรายการสินค้าที่ใช้คำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทุกๆ 4 ปี ตามการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อให้ดัชนีราคาผู้บริโภคทันสมัยถูกต้อง สะท้อนค่าครองชีพของประชากร ตามพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

    3. การปรับปรุงน้ำหนักครั้งนี้ใช้ข้อมูลผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของ
    4. ครัวเรือน ที่สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจล่าสุด คือ ปี 2545 มาศึกษาโครงสร้างรายได้ รายจ่ายของประชาชน เพื่อกำหนดกรอบครัวเรือนตัวอย่างของการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคให้ครอบคลุมกลุ่มประชากรส่วนใหญ่ โดยกำหนดกรอบที่ตั้งของครัวเรือน จำนวนสมาชิกของครัวเรือนและรายได้ประจำของครัวเรือน สำหรับเป็นข้อมูลให้สำนักงานสถิติแห่งชาติคัดข้อมูลค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนีราคาผู้บริโภค เพื่อใช้ในการปรับปรุงน้ำหนักค่าใช้จ่ายในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค 3 ชุด คือ

      - ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป

      - ดัชนีราคาผู้บริโภครายได้น้อย

      - ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท

    5. ปรับปรุงพื้นที่ครัวเรือนของดัชนีราคาผู้บริโภค

การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี 2545 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล

ด้านรายได้และรายจ่ายของครัวเรือน ซึ่งคุ้มรวมของการสำรวจได้ปรับปรุงแบ่งเขต ตามเขตการปกครองของประเทศไทย ในปี 2542 โดยในแต่ละจังหวัดมีการแบ่งการปกครองเป็น 2 ส่วน คือ ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ซึ่งต่างจากใน ปี 2541 ที่แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ เขตเทศบาล เขตสุขาภิบาลและนอกเขตเทศบาล/สุขาภิบาล

ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท ปีฐานเดิมใช้ ปี 2537 เป็นครัวเรือนที่ตั้งอยู่ในเขต

สุขาภิบาล ปัจจุบันเขตสุขาภิบาลได้มีการปรับยกฐานะพื้นที่บางส่วนเป็นเขตเทศบาล และที่เหลือจะรวมอยู่ในส่วนที่เป็นนอกเขตเทศบาล ดังนั้นจึงปรับพื้นที่ที่ตั้งครัวเรือนเป็นนอกเขตเทศบาล

 

 

    1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ปี 2545
      1. ปรับปรุงลักษณะของครัวเรือนตัวอย่าง
      2. 1.1.1 ที่ตั้งของครัวเรือน

        คุ้มรวมของการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนด้านรายได้และรายจ่าย

        ของปี 2545 ได้ปรับปรุงแบ่งเขตตามเขตการปกครองของประเทศไทยในปี 2542 ของกรมการ ปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้ปรับยกฐานะพื้นที่บางส่วนของเขตสุขาภิบาลเป็นเขตเทศบาล เป็นผลให้ที่ตั้งครัวเรือนตัวอย่างในภูมิภาค 4 ภาค ของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในปี 2545 ในเขตเทศบาล มีพื้นที่ขยายกว้างขวางขึ้น และสัดส่วนประชากรของภูมิภาคจะเพิ่มขึ้น

        1.1.2 ขนาดของครัวเรือน

        ศึกษาข้อมูลอัตราร้อยละของจำนวนครัวเรือนในเขตเทศบาล ที่มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนตั้งแต่ 1 คน จนถึง 10 คน ขึ้นไป โดยพิจารณาเลือกกลุ่มขนาดของครัวเรือนที่มีสัดส่วนอยู่ในเกณฑ์สูงที่สามารถสะท้อนค่าครองชีพของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้มากที่สุดเกินร้อยละ 80 เป็นขนาดของครัวเรือนดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งประกอบด้วยจำนวนสมาชิก 1-5 คนต่อครัวเรือน จะมีจำนวนครัวเรือนสะสมในเขตเทศบาลที่ร้อยละ 91.4

        1.1.3 รายได้ประจำของครัวเรือน

        คัดเลือกตัวแทนรายได้ประจำของครัวเรือนเพื่อให้สามารถสะท้อนภาวะค่าครองชีพของครัวเรือนส่วนใหญ่ ได้อย่างครอบคลุมให้มากที่สุด โดยการตัดรายได้ต่ำที่สุดคือกลุ่มเดไซล์ที่ 1 ออกร้อยละ 10 และตัดรายได้สูงสุด คือกลุ่มเดไซล์ที่ 10 ออกร้อยละ 10 จะเหลือข้อมูลส่วนใหญ่ ร้อยละ 80 คือกลุ่ม เดไซล์ 2-9 ซึ่งมีรายได้ประจำของครัวเรือนดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปที่ 3,000 -60,000 บาท/เดือน

         

        ลักษณะของครัวเรือนตัวอย่างของดัชนีผู้บริโภคทั่วไปดังนี้

       

      ปี 2541

      ปี 2545

      1. ที่ตั้งของครัวเรือน

      ในเขตเทศบาล กรุงเทพฯ -ปริมณฑล และภูมิภาค 4ภาค

      เหมือนเดิมแต่พื้นที่ขยายขึ้นตามจำนวนสุขาภิบาลที่ปรับยกฐานะเป็นเขตเทศบาล

      2. ขนาดของครัวเรือน

      2-6 คน

      1-5 คน

      3. รายได้ประจำของครัวเรือน

      6,000 – 43,000 บาท/เดือน

      3,000 – 60,000 บาท/เดือน

       

    1. การปรับปรุงรายการสินค้าและบริการ

    2. - การกำหนดรายการสินค้าและบริการ

      ได้จากการคัดเลือกรายการจากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกรายการสินค้าที่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายของสินค้าแต่ละรายการตั้งแต่ร้อยละ 0.01 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ส่วนสินค้ารายการที่ไม่สามารถออกรายการได้ จะนำค่าใช้จ่ายไปรวมให้กับรายการสินค้าในหมวดเดียวกันที่มีความใกล้เคียงกัน

      - จำนวนรายการสินค้าและบริการใช้คำนวณในปี 2545 มี 373 รายการ คือ

      สินค้าและบริการเพิ่มขึ้นจากปี 2541 จำนวน 47 รายการ โดยหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 19 รายการ หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้น 28 รายการ

    3. การปรับปรุงหมวดสินค้าและบริการ

    4. - ในปี 2545 ดัชนีหมวดใหญ่ยังคง 7 หมวดเหมือนเดิม

      - รายการสินค้าในหมวดต่าง ๆ ได้ปรับปรุงตามโครงสร้างของ COICOP

    5. สัดส่วนค่าใช้จ่ายโครงสร้างดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ

เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของครัวเรือนที่ใช้เป็นน้ำหนักสำหรับคำนวณดัชนีราคา ผู้บริโภคทั่วไป ระหว่างปี 2545 กับปี 2541

หมวด

สัดส่วนค่าใช้จ่าย (ร้อยละ)

เพิ่ม/ลด

( ร้อยละ )

ปี 2545

ปี 2541

รวมทุกรายการ

100.00

100.00

-

หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

36.06

38.53

-6.4

หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า

3.40

3.65

-6.9

หมวดเคหสถาน

23.86

25.85

-7.7

หมวดตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

6.04

5.63

7.3

หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร

21.99

16.15

36.2

หมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษา

5.82

6.72

-13.4

หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

2.83

3.47

-18.4

หมวดสินค้าอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม

63.94

61.47

4.0

สัดส่วนค่าใช้จ่ายหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 6.4 เป็นการลดลงของ

    • ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลดลงร้อยละ 17.0 ได้แก่ ข้าวสารเจ้า
    • ไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ 9.0 ได้แก่ ไข่ไก่ นมข้นหวาน นมผง
    • เครื่องประกอบอาหาร ลดลงร้อยละ 9.6 ได้แก่ น้ำมันพืช น้ำมันหมู น้ำปลา

สัดส่วนค่าใช้จ่ายหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0

    • พาหนะการขนส่งและการสื่อสาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.2 ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง

ค่าโดยสารรถประจำทาง ค่าประกันภัยรถยนต์ ภาษีรถยนต์ และค่าบริการโทรศัพท์มือถือ

    • ตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ได้แก่ ค่าห้องพักคนไข้

โรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน

 

 

 

  • สัดส่วนประชากรของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป

  • เปรียบเทียบสัดส่วนประชากรที่ใช้ถ่วงน้ำหนัก สำหรับคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ ระหว่างปี 2545 กับปี 2541

     

    ภาค

    สัดส่วนประชากร (ร้อยละ)

    ปี 2545

    ปี 2541

    กรุงเทพฯ และปริมณฑล

    47

    66

    ภาคกลาง

    17

    10

    ภาคเหนือ

    12

    9

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    15

    7

    ภาคใต้

    9

    8

    ประเทศ

    100

    100

     

     

    ************************* 

     

      1. ดัชนีราคาผู้บริโภครายได้น้อย ปี2545

    2.1 ปรับปรุงลักษณะของครัวเรือนตัวอย่าง

    - ขนาดของครัวเรือน

    เลือกขนาดของครัวเรือนที่มีสัดส่วนอยู่ในเกณฑ์สูง ที่สามารถสะท้อนค่าครองชีพของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเช่นเดียวกับขนาดของครัวเรือนดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป คือ ครัวเรือนที่มีสมาชิก 1-5 คน

    - รายได้ประจำของครัวเรือน

    คัดเลือกตัวแทนรายได้ประจำของครัวเรือนโดยรายได้ขั้นต่ำที่ 3,000 บาท/เดือน เช่นเดียวกับดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ส่วนรายได้ขั้นสูงปรับด้วยค่าดัชนีราคาผู้บริโภครายได้น้อยของปี 2545 โดยปรับจาก 14,000 บาท/เดือน เป็น 15,000 บาท/เดือน

    ลักษณะของครัวเรือนตัวอย่างของดัชนีราคาผู้บริโภครายได้น้อย

     

    ปี 2541

    ปี 2545

    1. ที่ตั้งของครัวเรือน

    ในเขตเทศบาล กรุงเทพฯ -ปริมณฑล และภูมิภาค 4ภาค

    เหมือนเดิมแต่พื้นที่ขยายเพิ่มขึ้นตามจำนวนสุขาภิบาลที่ปรับยกฐานะเป็นเขตเทศบาล

    2. ขนาดของครัวเรือน

    2-6 คน

    1-5 คน

    3. รายได้ประจำของครัวเรือน

    6,000 – 14,000 บาท/เดือน

    3,000 – 15,000 บาท/เด

    2.2 การปรับปรุงรายการสินค้าและบริการ

    - กำหนดรายการสินค้าและบริการ

    ใช้เกณฑ์การคัดเลือกรายการเช่นเดียวกับดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป คือเลือกรายการสินค้าที่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายของสินค้าแต่ละรายการตั้งแต่ร้อยละ 0.01 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด

    - จำนวนรายการสินค้าและบริการ ใช้คำนวณในปี 2545 มี 367 รายการ คือ สินค้าและบริการเพิ่มขึ้นจากปี 2541 จำนวน 45 รายการ โดยหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 18 รายการ หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 27 รายการ

    2.3 สัดส่วนค่าใช้จ่ายโครงสร้างดัชนีราคาผู้บริโภครายได้น้อย

    เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของครัวเรือนที่ใช้เป็นน้ำหนัก สำหรับคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค รายได้น้อย ระหว่างปี 2545 กับปี 2541

    เปรียบเทียบสัดส่วนค่าใช้จ่ายปี 2545 และปี 2541

    ดัชนีราคาผู้บริโภครายได้น้อย

    หมวด

    สัดส่วนค่าใช้จ่าย (ร้อยละ)

    เพิ่ม/ลด

    ( ร้อยละ )

    ปี 2545

    ปี 2541

    รวมทุกรายการ

    100.00

    100.00

    -

    หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

    46.08

    44.92

    2.6

    หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า

    2.94

    2.83

    3.7

    หมวดเคหสถาน

    22.91

    25.09

    -8.7

    หมวดตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

    5.31

    5.76

    -7.8

    หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร

    15.09

    11.90

    26.9

    หมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษา

    4.36

    5.49

    -20.6

    หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

    3.31

    4.01

    -17.5

    หมวดสินค้าอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม

    53.92

    55.08

    -2.1

    สัดส่วนค่าใช้จ่ายหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เป็นการเพิ่มขึ้นของ

      • ผักและผลไม้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ได้แก่ ผลไม้สด และผลไม้กระป๋อง
      • เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ได้แก่ กระดูกหมู กุ้งสด หมูหยอง ไส้กรอก และกุนเชียง
      • อาหารสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.7 ได้แก่ แฮมเบอร์เกอร์ ข้าวผัด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

     

     

    สัดส่วนค่าใช้จ่ายหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 2.1 เป็นการลดลงของ

      • การบันเทิงการอ่านและการศึกษา ลดลงร้อยละ 20.6 ได้แก่ ค่าเล่าเรียน ฟิล์มถ่ายรูป
      • ยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 17.5 ได้แก่ บุหรี่ สุรา

     

        1. สัดส่วนประชากรของดัชนีราคาผู้บริโภครายได้น้อย

    เปรียบเทียบสัดส่วนประชากรที่ใช้ถ่วงน้ำหนัก สำหรับคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค รายได้น้อยของประเทศ ระหว่างปี 2545 กับปี 2541

    ภาค

    สัดส่วนประชากร (ร้อยละ)

    ปี 2545

    ปี 2541

    กรุงเทพฯ และปริมณฑล

    35

    62

    ภาคกลาง

    20

    13

    ภาคเหนือ

    16

    7

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    18

    9

    ภาคใต้

    11

    9

    ประเทศ

    100

    100

     

     

    ****************************

      

      1. ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท ปี 2545

    3.1 ปรับปรุงลักษณะของครัวเรือนตัวอย่าง

    - ที่ตั้งของครัวเรือน

    กำหนดกรอบที่ตั้งของครัวเรือนที่อยู่นอกเขตเทศบาลซึ่งจะเป็นพื้นที่สุขาภิบาลเดิมบางส่วนที่ไม่ได้ปรับยกฐานะเป็นเขตเทศบาลร่วมกับพื้นที่เดิมที่เป็นพื้นที่นอกเขตเทศบาลและ นอกเขตสุขาภิบาลเดิมนั่นเอง

    - ขนาดของครัวเรือน

    เลือกกลุ่มขนาดของครัวเรือนนอกเขตเทศบาลที่มีสัดส่วนที่อยู่ในเกณฑ์สูง โดยนับรวมสัดส่วนสะสมในแต่ละกลุ่มของครัวเรือนที่สามารถสะท้อนครัวเรือนส่วนใหญ่มากที่สุดเกินร้อยละ 80 เป็นขนาดครัวเรือนดัชนี ราคาผู้บริโภคนอกเขตเมืองประกอบด้วยจำนวนสมาชิก 2-6 คน/ครัวเรือน

    - รายได้ประจำของครัวเรือน

    คัดเลือกตัวแทนรายได้ประจำครัวเรือนนอกเขตเทศบาลโดยการตัดรายได้ต่ำที่สุด

    คือกลุ่ม เดไซล์ ที่ 1 ออก ร้อยละ 10 และตัดรายได้สูงสุด คือกลุ่มเดไซล์ที่ 10 ออกร้อยละ 10 จะเหลือข้อมูลส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ซึ่งมีรายได้ประจำของครัวเรือนดัชนีเขตชนบทที่ 2,000-25,000 บาท/เดือน

     

    ลักษณะของครัวเรือนตัวอย่างของดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท

     

    ปี 2537

    ปี 2545

    1. ที่ตั้งของครัวเรือน

    เขตสุขาภิบาลในภูมิภาค 4 ภาค

    นอกเขตเทศบาลในภูมิภาค 4 ภาค

    2. ขนาดของครัวเรือน

    2-6 คน

    2-6 คน

    3. รายได้ประจำของครัวเรือน

    2,000 – 10,000 บาท/เดือน

    2,000-25,000 บาท/เดือน

     

    3.2 การปรับปรุงราคาสินค้าและบริการ

    - การกำหนดราคาสินค้าและบริการ

    ใช้เกณฑ์การคัดเลือกรายการเช่นเดียวกับดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป คือเลือกรายการสินค้าที่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายของสินค้าแต่ละรายการ ตั้งแต่ร้อยละ 0.01 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด

    - จำนวนรายการสินค้าและบริการ ใช้คำนวณในปี 2545 มี 346 รายการ คือ สินค้าและบริการเพิ่มขึ้น จากปี 2537 จำนวน 106 รายการ โดยหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 40 รายการ หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 66 รายการ

        1. สัดส่วนค่าใช้จ่ายโครงสร้างดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท

    เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายครัวเรือน ที่ใช้เป็นน้ำหนักสำหรับคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค

                 เขตชนบท ระหว่างปี 2545 กับปี 2537

    เปรียบเทียบสัดส่วนค่าใช้จ่ายปี 2545 และปี 2537

    ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท

    หมวด

    สัดส่วนค่าใช้จ่าย (ร้อยละ)

    เพิ่ม/ลด

    ( ร้อยละ )

    ปี 2545

    ปี 2537

    รวมทุกรายการ

    100.00

    100.00

    -

    หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

    43.59

    41.76

    4.4

    หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า

    3.79

    6.45

    -41.2

    หมวดเคหสถาน

    22.22

    25.27

    -12.1

    หมวดตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

    6.14

    6.46

    -5.0

    หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร

    18.00

    12.50

    44.0

    หมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษา

    3.52

    4.21

    -16.4

    หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

    2.74

    3.35

    -18.2

    หมวดสินค้าอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม

    56.41

    58.24

    -3.1

     

                        สัดส่วนค่าใช้จ่ายหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เป็นการเพิ่มขึ้นของ

                                      -  อาหารสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.4 ได้แก่ กับข้าวสำเร็จรูป

                                      - เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.6 ได้แก่ กาแฟผง น้ำอัดลม น้ำดื่ม

                                      - ไข่และผลิตภัณฑ์นม เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4 ได้แก่ นมสด และนมเปรี้ยว

                       สัดส่วนค่าใช้จ่ายหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 3.1 เป็นการลดลงของ

                                      - เครื่องนุ่งห่ม ลดลงร้อยละ 41.2 ได้แก่ เสื้อเชิ้ต กางเกงขายาว เครื่องแบบนักเรียน รองเท้า

                                      - ยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 18.2 ได้แก่ บุหรี่

                                      - การบันเทิง การอ่าน และการศึกษา ลดลงร้อยละ 16.4 ได้แก่ ค่าชมภาพยนตร์วิทยุ ค่าบำรุงการศึกษาเอกชน

        1. สัดส่วนประชากรของดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท

    เปรียบเทียบสัดส่วนประชากรที่ใช้ถ่วงน้ำหนัก สำหรับคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบทของประเทศ ระหว่างปี 2545 กับปี 2537

    ภาค

    สัดส่วนประชากร (ร้อยละ)

    ปี 2545

    ปี 2537

    ภาคกลาง

    21

    24

    ภาคเหนือ

    24

    26

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    37

    32

    ภาคใต้

    18

    18

    ประเทศ

    100

    100

    **********************************

    สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า  สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
    มกราคม  2548

     (http://www.price.moc.go.th)