1.
จากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่ผ่านมามีผลให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(IMF)
และธนาคารโลกให้ความสนใจกับมาตรการป้องกันการเกิดวิกฤติการณ์มากขึ้น
หนึ่งในมาตรการที่ได้จัดทำ
คือ
การส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลที่ดีและถือเป็น
Best Practice
ซึ่งเป็นที่มาของโครงการ ROSC
(Reports on the Observance of Standards and Codes)
2. โครงการ ROSC
เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2542
มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพข้อมูลด้านต่างๆ
ที่ประเทศสมาชิกดำเนินการเผยแพร่ว่าเป็นไปตามหลักปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากลหรือไม่
ทั้งนี้โดยได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญหลายแหล่ง
เช่น ธนาคารโลก
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
ธนาคารกลาง และ OECD เป็นต้น
3. ประเทศไทยเป็น 1 ใน 89
ประเทศที่เข้าร่วมโครงการ ROSC /
จากการประชุมเมื่อวันที่ 5
สิงหาคม 2545 ณ
ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมี
นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์
ที่ปรึกษารัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน
ที่ประชุมได้มีมติจัดตั้งคณะทำงานขึ้น
4 คณะ
เพื่อดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว
คือ
2.1
คณะทำงานด้าน Data Dissemination
2.2
คณะทำงานด้าน Corporate Governance
2.3
คณะทำงานด้าน Securities Market Regulation
2.4
คณะทำงานด้าน Monetary and Financial Policies
Transparency
4.
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ
ROSC คือ ข้อมูลสถิติด้านต่างๆ
ของประเทศไทยจะได้รับการรับรองความเป็นมาตรฐานสากล
มีความน่าเชื่อถือและสามารถเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิกอื่นๆ
ได้
และความน่าเชื่อถือที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
มีความเชื่อมั่นต่อการใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการตัดสินใจลงทุนมากขึ้น
ส่วนภาครัฐก็จะมีเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจที่ดีสำหรับประกอบการพิจารณากำหนดมาตรการและนโยบายต่างๆ
5. กระทรวงพาณิชย์
โดยสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้าได้เข้าร่วมเป็นผู้แทนในคณะทำงานด้านData
Dissemination ซึ่งมี นางนงนาท
สนธิสุวรรณ
ผู้อำนวยการอาวุโส
สายฐานข้อมูลธนาคาร
แห่งประเทศไทยเป็นประธานคณะทำงาน
ทั้งนี้
ข้อมูลที่สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้าเสนอเพื่อนำเข้ารับการประเมิน
คือ ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price
Index : CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer
Price Index : PPI)
ซึ่งดัชนีราคาทั้งสองจะต้องผ่านการประเมินคุณภาพข้อมูลเบื้องต้นรวม
6 ด้าน คือ
1.1
ความจำเป็นพื้นฐานของคุณภาพ
(Prerequisities of quality)
1.2
ความซื่อสัตย์ (Integrity)
1.3
ความถูกต้อง ความสมบูรณ์
ของวิธีการจัดทำ (Methodology soundness)
1.4
ความเที่ยงตรง
และน่าเชื่อถือ (Accuracy and reliability)
1.5
ความสามารถในการให้บริการ
(Serviceability)
1.6
ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้
Accessibility
6. ปัจจุบัน
สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า
กำลังเตรียมความพร้อมของข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตเพื่อเข้ารับการประเมิน
ซึ่งคาดว่าการพิจารณาของ IMF
จะเสร็จสิ้นประมาณกันยายน 2548
--------------------------------------------