คำชี้แจง

 

การปรับปรุงดัชนีราคาผู้บริโภค


1.    สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า ได้จัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคเผยแพร่เป็นประจำทุกเดือน ซึ่งได้มีการปรับปรุงน้ำหนักค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค ตามการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติทุกๆ 4 ปี ตลอดมา เพื่อสามารถผลิตดัชนีราคาผู้บริโภคได้ทันสมัย ถูกต้อง สะท้อนค่าครองชีพของประชากรได้อย่างแท้จริงตามพฤติกรรมการบริโภคของประชากรที่เปลี่ยนไป

นับตั้งแต่ปี 2505 ได้มีการปรับปรุงน้ำหนัก 5 ครั้ง ครั้งนี้เป็นการปรับปรุงน้ำหนัก

ค่าใช้จ่ายปี 2541 ตามการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

 2.    กำหนดลักษณะครัวเรือนตัวอย่าง

            โดยปกติการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคต้องกำหนดลักษณะของครัวเรือนตัวอย่างสำหรับใช้วัด  ซึ่งในการปรับปรุงครั้งนี้ได้กำหนดลักษณะครัวเรือนตัวอย่างของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปดังนี้

  • ครัวเรือนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภูมิภาค 4 ภาค

  • มีสมาชิกในครัวเรือนตั้งแต่ 2 – 6 คน

  • มีรายได้ตั้งแต่ 6,000 – 43,000 บาท ต่อเดือนต่อครัวเรือนในปี 2541

  • มีรายได้ที่ไม่เป็นตัวเงินต่อเดือน น้อยกว่าร้อยละ 30 ของรายได้ทั้งหมด (เช่น สวัสดิการต่างๆ, ที่พักอาศัย, เสื้อผ้า เป็นต้น)

  • 3.    การคัดเลือกรายการสินค้า

                รายการสินค้าและบริการที่ได้จากการสำรวจ จะคัดเลือกสินค้าและบริการเพื่อใช้เป็นตัวอย่างรายการสินค้าและบริการสำหรับคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคโดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

                จำนวนรายการสินค้าและบริการที่คัดเลือกตามหลักเกณฑ์ข้างต้นให้สินค้าและบริการจำนวน 326 รายการ  สำหรับใช้คำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคโดยมีรายการเพิ่มขึ้น 65 รายการ และลดลง 15 รายการ โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 50 รายการ เมื่อเทียบกับปี 2537

    4.    การปรับปรุงหมวดสินค้าและบริการ

     5.    สัดส่วนค่าใช้จ่ายโครงสร้างดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศ

                 เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของครัวเรือนที่ใช้เป็นน้ำหนักสำหรับคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคระหว่างปี 2541 กับปี 2537

      หมวด

      สัดส่วนค่าใช้จ่าย
      (ร้อยละ)

      ปี 2541

      ปี 2537

      รวมทุกรายการ 100.00 100.00
      หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 38.53 35.28
      หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 3.65 5.61
      หมวดเคหสถาน 25.85 24.01
      หมวดตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล 5.63 6.34
      หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร 16.15 17.45
      หมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษา 6.72 7.80
      หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ 3.47 3.51

      หมวดสินค้าอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์

      61.47

      64.72

       

    6.    เปรียบเทียบสัดส่วนค่าใช้จ่ายโครงสร้างดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศ

                สัดส่วนค่าใช้จ่ายของครัวเรือนเปรียบเทียบระหว่างปี 2541 กับปี 2537 สรุปได้ดังนี้

                ในช่วงปี 2541 เป็นช่วงที่เกิดวิกฤตภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การบริโภคอาหารที่ใช้ในการครองชีพ จึงมีความสำคัญมากสำหรับครัวเรือน และจากสัดส่วนของแต่ละหมวดตามตารางจะเห็นว่าประชากรให้ความสำคัญต่อการใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องนุ่งห่มน้อยลงค่อนข้างมากคือจากร้อยละ 5.61 ในปี 2537 เป็น 3.65 ในปี 2541 ขณะที่หมวดอื่นๆ นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายลดลงในปี 2541 เช่นกัน ยกเว้นหมวดเคหสถานที่ปี 2541 สูงกว่าปี 2537 เล็กน้อย คือจากร้อยละ 24.01 ในปี 2537 มาเป็น 25.85 ในปี 2541 

    7.    การเผยแพร่
                ดัชนีราคาผู้บริโภคชุดปี 2541 เริ่มเผยแพร่ตั้งแต่เดือนมกราคม 2545 เป็นต้นไป รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อกับสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้าโดยตรง โทร. 0-2622-2446-8 หรือทาง Internet (http://www.dit.go.th)